เรื่องของเฟรมจักรยาน

     เฟรมของจักรยานถือได้ว่าเป็นแกนกลางของจักรยาน หรือจะเรียกได้ว่าเป็นตัวถังของรถจักรยานก็ว่า เฟรมจักรยานจะเป็นชิ้นส่วนกลางที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆของจักรยานให้ขับเคลื่อนไปได้ ดังนั้นเฟรมจักรยานหรือตัวถังจักรยานจึงมีความสำคัญมาก และวัสดุที่นำมาทำเฟรมจักรยานก็มีหลากหลายวัสดุให้เลือกใช้งาน

วัสดุที่นำมาทำเฟรมจักรยาน

เฟรมจักรยานไททาเนียม (Titanium) 
     เป็นเฟรมขวัญใจของนักจักรยานทั้งหลายที่ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ นักจักรยานตัวจริงและมือสมัครเล่นน้อยคนนักที่ไม่รู้จักเฟรมจักรยานไททาเนียม
     ไททาเนียม (Titanium) เป็นธาตุในโลหะที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1797 โดย William Gregor เป็นโลหะที่มีแสงเป็นประกายขาวคล้ายเงิน มีความทนทานต่อการสุกร่อนเป็นเยี่ยม เมื่อทำให้ร้อนสามารถดัดโค้งงอได้รูปร่างตามต้องการ มีน้ำหนักเบา เมื่อทำให้เป็นวัตถุผสมมีความแข็งแรงทนต่อการบิดดึงได้ดีมาก แต่ขึ้นรูปหรือเชื่อมต่อให้สวยงามได้ยาก ต้องใช้ผู้ชำนาญและอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อชนิดพิเศษ ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการทำชิ้นส่วนของเครื่องบิน ยานอวกาศ เรือดำน้ำ ดาวเทียม รวมถึงรากฟันเทียม และบางส่วนของขีปนาวุธ นอกจากค้นพบได้ในโลกเราแล้ว ยังพบว่ามีอยู่ในดวงอาทิตย์และดวงดาวต่าง ๆ อีกด้วย
     ไททาเนียมเป็นวัตถุต้องห้ามที่ต้องมีใบอนุญาตในการซื้อขาย มีราคาแพง ไม่มีขายตามร้านค้าวัสดุทั่วไป เหมือนกับเหล็กหรืออลูมิเนียม
  
จักรยานเฟรมไททาเนียมนั้นมีอยู่สองเกรดด้วยกัน คือ
  • ท่อที่ผลิตในอเมริกา 
  • ท่อที่ผลิตในประเทศจีนและรัสเซีย 
     ข้อแตกต่างกันที่ต้นทุนการผลิตและคุณภาพ ราคาจึงแตกต่างกันมากโดยปกติไททาเนียมจะมีส่วนผสมของโลหะสองชนิตามอัตราส่วนดังนี้ คือ3AL/2.5V = (Aluminium = 3 % / Vanadium = 2.5 % ) ส่วนที่เหลือเป็น Titanium 4AL/6V = (Aluminium = 4 % / Vanadium = 4 % ) ส่วนที่เหลือเป็น Titaniuam

     ท่อไททาเนียมที่ทำจากรัสเซีย มีทั้งสองชนิดเหมือนกัน แต่เมื่อทดสอบคุณภาพแล้วพบว่าท่อของรัสเซียมีคุณภาพด้อยกว่าที่ทำในอเมริกาถึง 40 % ในด้านความทนทานต่อแรงบิดดึง ส่วนท่อไททาเนียมที่ผลิตในประเทศจีนนั้น ใช้สวนผสม 3AL/2.5V ถึงแม้จะมีส่วนผสมทางเคมีอยู่ในระดับเดียวกัน กับมาตรฐานทั่วไป แต่พบว่าของจีนยังมีส่วนผสมอื่น ๆ ปนอยู่ ทำให้ความแข็งแรงด้อยไปกว่าที่ผลิตในรัสเซียเสียอีก จึงลงความเห็นว่า ท่อไททาเนียมทั้งที่ผลิตในรัสเซียและผลิตในประเทศจีน ยังมีคุณภาพและน้ำหนักไม่ดีเท่ากับที่ผลิตในอเมริกา
     ผู้ผลิตเฟรมจักรยานหลายรายที่ใช้ท่อไททาเนียม ที่ทำในประเทศรัสเซียและจีน ต้องใช้กลยุทธ์ในการขายสินค้าของตนโดย "รับประกันคุณภาพตลอดอายุการใช้งาน"

     ในสหรัฐอเมริกา Sandvik คือผู้ผลิตท่อไททาเนียม ที่มีชื่อเสียงที่สุดรายหนึ่ง และเป็นที่นิยมสำหรับการนำมาทำเฟรมจักรยาน จึงมีการประมูลสิทธิ์ในการซื้อท่อ เพื่อไปใช้ในการทำจักรยานของตนแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม Sandvik ไม่ใช่ผู้ผลิตท่อไททาเนียมรายเดียวในอเมริกา เช่น เฟรมชั้นยอดของ Merlin กลับไปใช้ท่อไททาเนียมของ Haynes ที่ผลิตในเมือง Arcadia รัฐ Louisiana ซึ่งเป็นแหล่งผลิตท่อไททาเนียมระดับท๊อป ราคาแพง คุณภาพเยี่ยมอีกยีห้อหนึ่ง

เฟรมจักรยานเหล็ก (Steel)
     เฟรมจักรยานเหล็ก (Steel) เป็นวัสดุดั้งเดิมในการใช้ทำตัวถังจักรยาน ให้ความรู้สึกที่ดีในการขับขี่ ควบคุมง่าย ขี่สนุก ให้ตัวดี ไม่แข็งกระด้าง แข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี
     ข้อเสียเฟรมจักรยาน คือ มีน้ำหนักมาก ลำบากในการดูแลรักษา เป็นสนิมได้ง่าย จึงนิยมนำเฟรมจักรเหล็กมาชุบโครเมี่ยมเป็นทางเลือก
     เฟรมจักรยานเหล็กคุณภาพดี ที่ออกมาวางจำหน่าย เช่น Breezer และ Voodoo และมีนักแข่ง และผู้ที่นิยมจักรยานไม่น้อยทีเดียวที่นิยมชมชอบ ตัวถังหรือเฟรมจักรยานที่ผลิตจากเหล็ก
     ด้วยคุณสมบัติของเหล็กที่มีน้ำหนักมาก นักจักรยานจึงไม่นิยมใช้แข่งขันกันมากนักเพราะยังมีวัสดุประเภทอื่นที่มีคุณภาพใกล้เคียงหรือดีกว่าในการทำตังถังหรือเฟรมจักรยาน ประกอบกับข้อได้เปรีบยที่มีน้ำหนักน้อยกว่าตัวถังหรือเฟรมจักรยานที่ทำด้วยเหล็ก ด้วยเหตุผลนี้ เหล็กจึงไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตจักรยานในเชิงการกีฬา เหล็กจึงเป็นที่นิยมในการผลิตตัวถังจักรยานในเชิงพาณิชย์โดยทั่วไปเสียมากกว่า ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแกร่งของมัน เหล็กจึงยังสามารถครองตลาดจักรยาน ได้มาตั้งแแต่อตีดกาลจนถึงปัจจุบัน
  
เฟรมจักรยานโครโมลี่ (Chromoly)
     โครโมลี่ (Chromoly) เป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กกับโมลิบดีนั่ม (Molybdenum) มีน้ำหนักเบากว่าเหล็ก ท่อโครโมลี่ดี ๆ บางยีห้อมีน้ำหนักไม่ต่างจากไททาเนี่ยมเท่าไหร่นัก
     จุดเด่นของโครโมลี่ ให้เฟรมจักรยานน้ำหนักเบา ขี่สนุก
     ข้อเสียเฟรมจักรยานโครโมลี่ คือ ดูแลรักษาค่อนข้างยากพอสมควร เป็นสนิมง่ายเหมือนเหล็กทั่ว ๆ ไป
     เฟรมจักรยานโครโมลี่เป็นที่นิยมของบรรดานักจักรยานทั้งหลาย เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆเลยก็ว่าได้
     ท่อโครโมลี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Ritchey / Reynolds และ Columbus เฟรมโครโมลี่ ราคาไม่แพงนัก ที่นิยมใช้กัน เห็นจะเป็นรถของ KHS โดยใช้ท่อของ True Temper

เฟรมจักรยานอลูมิเนียม (Aluminium)
     อลูมิเนียม (Aluminium) เป็นเฟรมจักรยานยอดนิยมของนักจักรยาน ด้วยอลูมิเนียมมีน้ำหนักเบา ดูแลรักษาง่าย ไม่เป็นสนิมแต่อาจเกิดการผุกร่อนได้ จากอลูมิเนียมอ๊อกไซด์
     อลูมิเนียมมีให้เลือกหลายเกรด เช่น 6061 / 7005 / หรือ Elan3. / Elite สูตรผสมของท่อ Easton เฟรมจักรยานอลูมิเนียมขี่จะไม่ค่อยนิ่มนวลเหมือนเฟรมชนิดอื่น ค่อนข้างแข็งกระด้างเมื่อขับขี่ในทางวิบาก แต่กลับตรงกันข้ามขี่ได้ดีในทางเรียบและทางสูงชัน ราคาไม่แพง มีให้เลือกมากมายในท้องตลาด รูปร่างและสีสรรคสวยงามสดุดตาผู้พบเห็น
     ข้อควรพึงระวังในการดูแลรักษา สำหรับผู้ใช้เฟรมจักรยานที่ผลิตด้วยอลูมิเนียม เนื่องจากอลูมิเนียมสามารถเกิดการผุกร่อนได้ด้วยหลาย ๆ สาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดมักจะพบบ่อย ๆ คือไอน้ำจากน้ำเค็ม สำหรับผู้ที่อยู่ติดทะเล ควรหมั่นรักษาเช็ดทำความสะอาดด้วยทุกครั้งหลังจากการใช้งาน และที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ เหงื่อจากตัวเราในระหว่างการขับขี่ หยดเหงื่อที่ไปโดยเฟรมอลูมิเนียมนั้น หากเราละเลยก็อาจจะทำให้เฟรมของเราเกิดการผุกร่อนได้เช่นกัน

เฟรมจักรยานคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)
     คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ที่นำทำเฟรมจักรยานที่นิยมและชื่นชอบของนักจักรยานเป็นอย่างมากถือได้่ว่าประสบความสำเร็จเป็นมากในการนำคาร์บอนไฟเบอร์มาทำเฟรมจักรยานถือได้ว่าเป็นตัวเลือกของเฟรมจักรยานลำดับต้นๆ
     ข้อดีของคาร์บอนไฟเบอร์ สามารถทำให้แข็งกระด้างมากหรือน้อย ทำให้เบามากหรือนำไปเสริมในบางจุดที่ต้องรับแรงกระแทกมาก ๆ ได้ มีความทนต่อการกัดกร่อนสูง
     ข้อเสียของคาร์บอนไฟเบอร์ มีราคาแพง เชื่อมต่อยาก ดังนั้นตามข้อต่อที่รับแรงกระแทกสูง ๆ จะเกิดปัญหาได้ง่าย เขาจึงเลือกที่จะนำคาร์บอนไฟเบอร์ไปทำตัวถังประเภท โมโนค็อด (monocogne) หรือเฟรมจักรยานชิ้นเดียวแทน

จักรยาน BMX

จักรยานBMX จะแบ่งเป็นหลายๆประเภทย่อย คือ
  • ฺBMX Racing ลักษณะรถช่วงจะยาวกว่าประเภทอื่นและองศารถจะเหมาะสมกับการแข่งขันด้วยความเร็ว
  • BMX Flatland ลักษณะรถจะสั้นๆ เหมาะกับการเล่นท่า
  • BMX Street ช่วงรถจะยาวกว่าแบบ Flatland เล็กน้อย
  • BMX Park BMX Dirt BMX VERT ทั้งสามประเภทะจะใช้่จักรยานประเภท Street 

ขอบคุณรูปและข้อมูลจักรยานจากคุณ It_Nice@pantip.com

จักรยานคืออะไร และประเภทของจักรยาน

จักรยานคืออะไร และประเภทของจักรยาน

     ยานพาหนะชนิดหนึ่งที่ใช้พลังงานกลหรือใช้แรงกายคนในการขับเคลื่อน ประหยัดพลังงานแก๊สและน้ำมันในการใช้ยานพาหนะในการเดินทาง โดยชื่อของยานพาหนะชนิดนี้คือ จักรยาน

     จักรยานจะประกอบด้วยตัวถังจักรยาน(เฟลม), อาน(เบาะนั่ง), แฮน, ล้อจักรยาน, ชุดเบรคจักรยาน, ชุดจานปั่นและโซ่จักรยานประกอบกันรวมเป็นจักรยาน1คัน ขับเคลื่อนที่ออกแรงถีบกลไกให้ล้อหมุน

     ปัจจุบันจักรยานมีหลายชนิด มีตั้งแต่ 1 ล้อ(จักรยานล้อเดียว) ไปจนถึงจักรยานหลายล้อ ยังมีประเภทดัดแปลงแบบแปลกๆ เช่นมีล้อหน้าใหญ่ แต่ล้อหลังเล็ก จักรยานยังใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันกีฬาอีกประเภทหนึ่ง

จัดแบ่งประเภทของจักรยาน

   1 จักรยานประเภทใช้งานทั่วไป เป็นจักรยานโดยทั่วไปใช้งานในชีวิตประจำวัน หรือที่เรียกกันว่าจักรยานจ่ายตลาด, จักรยานแม่บ้าน, จักรยานเด็ก เป็นต้น โดยจักรยานจะประกอบสำเร็จรูปพร้อมใช้งานได้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆครบถ้วน มีราคาถูก ราคาจักรยานเริ่มต้นที่หนึ่งพันบาทหาซื้อได้ง่ายที่ร้านขายจักรยานทั่วไป

   2 จักรยานประเภทใช้แข่งการกีฬา เป็นจักรยานในลักษณะเสือหมอบ ตัวจักรยานมีการติดตั้งเกียร์จักรยานเสริมเข้าไปมีตั้งแต่ 5เกียร์ ถึง 14เกียร์ เฟลมตัวถังจักรยานแข็งแรงมีน้ำหนักเบา ออกแบบให้เพียวลม ยางรถจักรยานมีลักษณะผอมบางแต่ทนแรงกดดันได้สูง ราคาจักรยานที่ใช้แข่งเริ่มต้นที่หลักหมื่นปลาย

   3 จักรยานประเภทใช้ออกกำลัง สปอร์ต ท่องเที่ยว เป็นจักรยานที่ผสมผสานระหว่างจักรยานที่ใช้งานทั่วไปรวมเข้ากับจักรยานที่ใช้แข่งขัน ออกมาในรูปแบบจักรยานไฮบริด Hybrid ออกแบบลักษณะการใช้งานที่ลุยได้ทุกพื้นที่ ใช้งานในเมือง ใช้งานในป่า ขึ้นเขาก็ได้ ราคาจักรยานไฮบริดเริ่มต้นแบบถูกๆที่หลักพันปลายๆ

ปัจจุบันความนิยมของจักรยานได้ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
  1 จักรยานประเภทถนน
  2 จักรยานประเภทวิบาก

คุณปรีดา จุลละมณฑล นักกีฬาจักรยานขวัญใจชาวไทย

     ประวัติของคุณ ปรีดา จุลละมณฑล เกิดที่จังหวัดจันทบุรีในวันที่ 21 สิงหาคม 2488 เป็นบุตรของคุณพ่อสร และคุณแม่ปรานอม จุลละมณฑล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางสาว จันทนา จุลละมณฑล และมีบุตรธิดา 2 คน คือนายจามร และนางสาวจิตรลดา  จุลละมณฑล เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหลวงปรีชากูล จังหวัด ปราจีนบุรี เข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนประจำาจังหวัดปราจีนบุรี หลัง จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศชั้นมัธยาศึกษาปีทีี 2

     คุณปรีดา จุลละมณฑล รู้จักจักรยานครั้งแรกตอนอายุ 14 ปี เพราะว่าใช้จักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางไปโรงเรียน ต่อมาได้เข้าคัดเลือกเป็นตัวแทน นักกีฬาทีมชาติไทยในปี 2502 เพื่อเข้าแข่งขันกีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 2 ณ ประเทศ พม่า ขณะนั้นยังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างกลพระนครเหนือและเป็นนักกีฬาจักรยานควบคู่กันไป

การแข่งขันกีฬาจักรยานที่ได้เข้าร่วมแข่งขัน ของคุณปรีดา จุลละมณฑล
1.  ปี  พ.ศ.  2505  เข้าแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์  ครั้งที่  4  ณ  ประเทศ อินโดนีเซีย ได้เหรียญเงินจักรยานประเภททีม
2.  ปี  พ.ศ.  2506  เข้าแข่งขันจักรยานรายการชิงแชมป์เอเซีย  ครั้งที่  1  ประเทศมาเลเซีย ได้เหรียญจักรยานทองประเภท 800 เมตรแมสสตาร์ท
3. ปี พ.ศ. 2507 เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิคส์เกมส์ ณ ประเทศญี่ปุ่น ได้ ตำแหน่งที่ 18 จักรยานประเภท 100 เมตร ไทม์ไทนอัล
4. ปี พ.ศ. 2509 เข้าแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ณ ประเทศไทย  ได้ 4 เหรียญทอง 2 เหรีญเงิน
  • จักรยานประเภทแมสสตาร์ท 800 เมตร เหรียญทอง
  • จักรยานประเภทแมสสตาร์ท 4800 เมตร เหรียญทอง
  • จักรยานประเภทไทม์ไทล์ 100 เมตร เหรียญทอง
  • จักรยานประเภทเดี่ยวเปอร์ซูท 4000 เมตร เหรียญทอง
  • จักรยานประเภททีม 1600 เมตร เหรียญเงิน
  • จักรยานประเภททีมเปอร์ซูทเหรียญเงิน
5. ปี พ.ศ. 2510 เข้าแข่งขันกีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 4 ได้ 7 เหรียญทอง 
  • จักรยานประเภทแมสสตาร์ท 800 เมตร
  • จักรยานประเภทแมสสตาร์ท 4800 เมตร
  • จักรยานประเภทไทม์ไทล์ 1000 เมตร
  • จักรยานประเภทเดี่ยวเปอร์ซูท 4000 เมตร
  • จักรยานประเภทสปินซ์ 1000 เมตร
  • จักรยานประเภททีม 100 เมตร
  • จักรยานประเภททีมเปอร์ซูท 4000 เมตร

     หลังจากกีฬาเซียพเกมส์  ครั้งที่  4  แล้วเลิกการแข่งขันจักรยาน  และหันมาแข่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์โดยตระเวณแข่งที่ประเทศมาเลเซียและประเทศ สิงคโปร์ได้ตำาแหน่งการแข่งขันอยู่ในชั้นที่น่าพอใจคือชนะบ้างแพ้บ้าง ในเวลาเดียวกันก็เริ่มแข่งรถยนต์แรลลี่ โดยแข่งครั้งแรกรายการเวียนจันทน์ - สิงคโปร์ ได้ชนะเลิศในรุ่นรถยนต์ไม่เกิน 1300 ซีซี

     ปี พ.ศ. 2512 ได้ไปเรียนการขี่รถจักรยานยนต์วิบากที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วกลับ มาเปิดโรงเรียนสอนในประเทศไทยในระยะหนึ่ง  เร่ิมแข่งรถคาร์ท  และเริ่มแข่งรถ ตลอดมาในปีเดียวกันนี้  ได้เดินทางไปแข่งขันรถยนต์มาราธอนจากลอนดอนประเทศ อังกฤษ-ประเทศแม็กซิโก ไม่ประสพผลสำาเร็จเพราะรถเกิดเสียระหว่างการแข่งขัน  โดยลูกสูบแตกที่ประเทศอุรุกวัย อเมริกาใต้

     ปี พ.ศ. 2535 ได้เดินทางไปแข่งรถยนต์มาราธอนจากปารีส-มอสโก-ปักกิ่ง ไม่ประสพผลสำาเร็จต้องออกจากการแข่งขันระหว่างทางเพราะเวลาไม่ทัน

     ปี พ.ศ. 2536 เดินทางสำารวจเส้นทาง กรุงเทพฯ-คุณหมิง และต่อมาได้ออก สำารวจเส้นทางไปประเทศอินโดนีเซีย,  ลาว,  เวียดนาม  เพื่อเตรียมจัดคาราวานเพื่อ มิตรภาพของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ประวัติการทำงานของคุณ ปรีดาจุลละมณฑล
  • เริ่มทำงานครั้งแรก  ในปี  พ.ศ.  2508  ที่ธนาคารออมสินและขอลาออกในปี  พ.ศ. 2512 เพื่อไปแข่งรถที่ประเทศอังกฤษ
  • ปี พ.ศ. 2513 เริ่มก่อตั้งนิตยสารกรังปรีซ์
  • ปี พ.ศ. 2515 เข้าทำางานบริษัท สยามกลการ แผนกแอร์กีกิ
  • ปี พ.ศ. 2518 เป็นผู้จัดการฝ่ายขายรถยนต์อัลฟ่า
  • ปี พ.ศ. 2519 ตั้งโรงงานจักรยานปรีดา และทำาได้ประมาณ 4 ปี ต้องเลิกกิจการเพราะขาดทุน หลังจากนั้นได้ผลิตเสาอากาศเครื่องรับ-ส่งถึงปี 2523
  • ปี พ.ศ. 2524 เริ่มทารายการโทรทัศน์ รายการมอเตอร์วีค และทำมาเป็นอาชีพตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2544

     ตลอดเวลายังคงอยู่ใกล้ชิดกับวงการจักรยานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน  เป็น ผู้ฝึกสอนและผู้จัดการทีมพร้อมทั้งนำทีมเขัาร่วมการแข่งขันระหว่างประเทศบ่อยๆ  เช่นซีเกมส์  เอเซี่ยนเกมส์  การแข่งขันทัวร์ต่างๆ  และปฏิบัติหน้าที่ประธานเทคนิค สมาคมจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เป็นประธานฝ่ายเทคนิคของสมาคมจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เป็นผู้จัดการทีมในการเข้าร่วมกีฬาซีเกมส์  ครั้งที่  24  (พ.ศ.  2550)  ณ  จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย                                              
งานอดิเรก คือการดำน้ำ, ยิงปืน, ขับรถออฟโรด และตีกอล์ฟ

ปรีดา จุลละมณฑลเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553 หลังจากป่วย เป็นโรคไต

จารึกไว้ในรอยล้อ
       * พ.ศ. 2505 เหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 4 ที่อินโดนีเซีย
       * พ.ศ. 2506 เหรียญทอง ชิงแชมป์เอเชีย ที่มาเลเซีย
       * พ.ศ. 2507 อันดับ 2 ของเอเชีย กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ที่ญี่ปุ่น (อันดับรวม อันดับที่ 20 ไม่ได้เหรียญรางวัล)
       * พ.ศ. 2509 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ที่ประเทศไทย
       * พ.ศ. 2510 7 เหรียญทอง กีฬาแหลมทอง 1967 ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทย

ต้นกำหนดจักรยาน และความเป็นมาจักรยานในไทย

     จักรยานคันแรกได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2377(ปี1834) โดย Kirkpatrick Mcmillan(เคิร์กแพทริกแมกมิลแลน) ชาวสกอตแลนด์ ได้ดัดแปลงแบบมาจาก Jeen Theson หลักฐานนี้ได้พบในอียิปต์และในปอมเปวี ซึ่งได้เขียนภาพไว้บนผนังปูนอายุประมาณ 5,000 ปีของชาวเมโสโปเตเมียรูปยานพาหนะที่มีล้อทำจากไม้หรือหิน Kirkpatrick Mcmillan(เคิร์กแพทริกแมกมิลแลน)ได้สร้างรถจักรยานคันแรกขึ้นทำจากไม้ มีล้อหน้าหลังเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน มีบันไดถีบที่ล้อหน้า ถึบค่อยข้างยาก เขาไม่ได้นำจักรยานไปจดสิทธิบัตรจึงมีคนสร้างเลียนแบบและพัฒนาให้ถึบง่ายขึ้นเรื่อยมา ภายหลังจึงมีการสร้างรถจักรยานที่มีล้อหน้าและล้อหลังขนาดเท่ากัน มีบันไดถึบคล้องกับโซ่ โยงระหว่างล้อหน้ากับล้อหลัง ทำให้ถึบง่ายขึ้น

     จักรยานได้วิวัฒนาการมาตามลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2408(ปี1865) Pierre Michaux และ Pierre Lallement ได้ประดิษฐ์จักรยานขึ้นใหม่ โดยมีบันไดถีบเหมือนจักรยานในปัจจุบัน และมีสายโซ่โยงไปยังเพลาล้อหลัง แต่จักรยานในสมัยก่อนยังไม่มีล้อกันสะเทือน ทำให้เวลาเคลื่อนที่จะสะเทือนมาก

  • ช่วงปี พ.ศ. 2422-2428(ปี1879-1885) จักรยานได้ถูกออกแบบใหม่และปรับปรุงให้ดีขึ้นเน้นถึงความปลอดภัยมากขึ้น โดย J.K. Starley มีการอัดลมเข้าไปในยางรถจักรยานเพื่อกันสะเทือน
  • ปี พ.ศ. 2436(ปี1893) จักรยานที่ใช้ได้ประดิษฐ์ระบบเบรกให้รถหยุดได้ตามต้องการ
  • ปี พ.ศ. 2441(ปี1898) มีผู้ออกแบบให้รถมีล้อหน้าและล้อหลัง จนในที่สุดจักรยานก็มีสภาพเหมือนในปัจจุบัน
  • ณ ปัจจุบัน จักรยานทั่วโลกมีมากกว่า 1 พันล้านคัน นับได้ว่าจักรยานเป็นยานพาหนะคู่กับชีวิตประจำตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และจักรยานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหลายท้องที่ทั่วโลกเนื่องจากเป็นยานพาหนะที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงน้ำมันหรือแก๊ส ใช้แต่แรงคน ได้ออกกำลังกายและสุขภาพ ช่วยลดมลพิษ

ประวัติจักรยานในประเทศไทย

     ในสมัยรัชกาลที่ 5 จักรยานได้นำเข้ามาแพร่หลาย ใช้งานในประเทศไทยเป็นครั้งแรกและมีการประชุมรถจักรยานเป็นครั้งแรกที่วังบูรพาภิรมย์เนื่องในโอกาสที่กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จกลับจากยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2442 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2442
     วันที่ 22 กันยายน และทุกวันอาทิตย์ตลอดเดือนกันยายนของทุกปี จัดเป็น วันปลอดรถ (Car Free Day) มีการรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันมาใช้รถจักรยาน และรถขนส่งมวลชนแทน