ส่งท้ายปีกับงานจักรยาน A DAY BIKE FEST 2012 ที่แอร์พอร์ตลิงค์ มักกะสัน 22-25พฤศจิกายน2555

A DAY BIKE FEST 2012 ครบเครื่องแบบจักรยาน เทศกาลรวมจักรยานส่งท้ายปี2555

ความเป็นมาของงาน A DAY BIKE FEST 2012
การใช้จักรยานในเมืองเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ เพราะเป็นการเดินทางที่ไม่ทำให้เกิดมลพิษ สามารถใช้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนได้สะดวก ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้จักรยานเพิ่มขึ้นทุกปี จนกลายเป็นกระแสในสังคมที่น่าจับตา ด้วยเหตุนี้นิตยสาร a day จึงทำฉบับจักรยาน Human Ride วางแผงในเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี มีผู้อ่านที่ไม่เคยปั่นจักรยานสนใจอยากปั่นจำนวนมาก เราจึงต่อยอดความสำเร็จนี้ด้วยเทศกาล a day BIKE FEST 2012 เทศกาลที่ครบเครื่องทุกเรื่องจักรยาน
ส่งท้ายปีกับงานจักรยาน A DAY BIKE FEST 2012 ที่แอร์พอร์ตลิงค์ มักกะสัน 22-25พฤศจิกายน2555

งาน A DAY BIKE FEST 2012 นี้จัดเพื่อนักปั่นจักรยานทุกกลุ่ม ทุกประเภท รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ไม่เคยปั่นจักรยานและสนใจอยากเริ่มปั่น ภายในงานA DAY BIKE FEST 2012มีกิจกรรมหลากหลาย
  • มีร้านค้าจากทุกแบรนด์จักรยานชั้นนำมาออกร้าน 
  • นิทรรศการเกี่ยวกับจักรยาน 
  • โชว์จักรยานวินเทจที่หาชมได้ยาก 
  • การแข่งจักรยานผาดโผน 
งานA DAY BIKE FEST 2012ถือได้ว่าครอบคลุมความต้องการของนักปั่นทุกกลุ่ม มีพื้นที่จัดงานขนาดใหญ่จุคนได้ 50,000 คน ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ภายในงานA DAY BIKE FEST 2012 นี้มีพื้นที่ให้ร้านค้าเกี่ยวกับจักรยานมาร่วมออกร้านจำนวน 92 บูท

สถานที่จัดงาน A DAY BIKE FEST 2012 ชั้น 2  สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ มักกะสัน บริเวณในอาคารและส่วนหนึ่งที่จอดรถชั่วคราวนอกอาคาร ตั้งแต่วันที่ 22 ถึง 25 พฤศจิกายาน ในเวลา 10.00น. จนถึง 21.00น.

ออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานมีประโยชน์รอบด้าน

     เชื่อได้ว่าหลายๆคนลืมไปเสียแล้วว่าตอนเด็กๆนั้นชอบปั่นจักรยานมากขนาดไหน เพราะว่าเทคโนโลยีความสะดวกสบายเข้ามาในชีวิตมากขึ้นการเดินทางโดยการออกกำลังก็ยิ่งน้อยลงไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ จักรยานยนต์เป็นต้น ทำให้คนพึ่งพารถยนต์และจักรยานยนต์กันมากขึ้นจนทำให้ลืมไปเลยว่ายังมีจักรยานอยู่ที่สามารถใช้ในการนำพาเราไปได้ทุกหนแห่งเหมือนรถยนต์และจักรยานยนต์ได้เหมือนกัน

     การปั่นจักรยานหรือที่เรียกกันติดปากว่าขี่จักรยานเล่นกัน เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพที่แข็งแรงแก่เรา การขี่จักรยานออกกำลังกายเป็นเวลา30นาทีจนถึงเป็นชั่วโมงนั้นก็เสมือนเป็นการออกกำลังกายคล้ายกับการแอโรบิคที่มีการออกกำลังกายต่อเนื่องของร่างกายมีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
  •   ส่งผลให้หัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้เลือดส่งไปหล่อเลี้ยงอวัยวะของร่างกายส่วนต่างๆ สมอง ไตเป็นอย่างดีและยังช่วยลดการสะสมไขมันในสายเลือดป้องกันเส้นเลือดตีบตันได้อีกทางหนึ่ง
  •   ช่วยในเรื่องของระบบการหายใจให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ไม่เหนื่อยง่าย
  •   ช่วยลดภาวะความเครียดของร่างกายได้ เพราะว่าการขี่จักรยานออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มระดับฮอรืโมนแอนดอร์ฟินช่วยลดความเครียด
  •   ช่วยเพิ่มสร้างมวลกล้ามเนื้อร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อในส่วนของ ขา เอวและสะโพก
  •   ช่วยให้การเผาผลาญไขมันและแคลอรี่ได้เป็นอย่างดีสำหรับผู้ที่มีไขมันสะสมในปริมาณมาก

     การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานนอกจากจะได้ประโยชน์ทางด้านสุขภาพ ร่างกายแข็งแรงแล้วยังได้สังคม ได้พบปะกลุ่มคนที่ออกกำลังกายด้วยจักรยานด้วยกันเพราะปัจจุบันมีการจัดกลุ่มในการขี่จักรยานท่องเที่ยว ออกทริปต่างๆมากมาย

ข้อควรระวังในการปั่นจักรรยาน
     1 เบาะนั่งจักรยานหรือที่เรียกว่าอานจักรยานนั้นจะต้องมีความเหมาะสมกับสรีระร่างกายของผู้ขี่จักรยาน ไม่ควรจะนิ่มเกินไปอาจทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต้นขาได้แต่ละอานนั่งจักรยานแข็งเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อขาได้ง่ายๆ
     2 ความสูงของอานจักรยาน ควรมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับความยาวของขาผู้ขี่จักรยาน เมื่อถีบจนสุดควรให้องศาของเข่าเท่ากับแนวตรงของขาไม่เกิน150องศาไม่เช่นนั้นจะทำให้ปวดกล้ามเนื้อขาและเมื่อยล้าได้ง่ายๆ

ดูแลรักษาทำความสะอาดจักรยานคันโปรด

ดูแลรักษาทำความสะอาดจักรยานคันโปรด

     จักรยานเมื่อใช้งานไปสักระยะย่อมต้องดูแลรักษาเพื่อให้จักรยานคันโปรดพร้อมใช้งานทุกเมื่อที่ต้องการ บางท่านอาจจะรักจักรยานคันโปรดเป็นอย่างมากถึงขนาดเมื่อนำจักรยานออกใช้งานเมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยก็ดูแลรักษาจักรยานกันทันทีเลยทีเดียว

มาทำดูแลรักษาทำความสะอาดจักรยานกันดีกว่า

     - กรณีที่จักรยานคันโปรดไม่สกปรกมาก ไม่เลอะมากมาย อาจจะใช้แค่ผ้าชุบน้ำ บิดหมาดๆ เช็ดถูก ลูบไปตามท่อตัวเฟรมจักรยานให้ทั่วเพื่อกำจัดฝุ่น คราบสกปรกต่างๆที่ติดอยู่กับเฟรมจักรยานให้หลุดออกหมดไป ส่วนล้อของจักรยานอาจจะทำการถอดออกหรือไม่ถอดก็ได้แล้วแต่คน นำผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดเช็ดตามขอบล้อจักรยาน ซี่ลวดให้สะอาด หรือบางท่านอาจจะเช็ดยางจักรยานให้สะอาดก็ได้ไม่ว่ากัน
     - กรณีที่จักรยานผ่านสภาพถนนที่สกปรกมาก ฝนตกลุยโคลน ขี้ดินต่างๆมา สภาพจักรยานดูไม่ได้เลยทีเดียว ก็ต้องนำจักรยานมาล้างทำความสะอาดกันเสียหน่อยแล้ว เมื่อล้างด้วยน้ำยาล้างรถเรียบร้อยแล้วควรที่จะเช็ดจักรยานคันโปรดให้แห้งสนิทด้วย

เมื่อลงมือล้างจักรยานคันโปรดด้วยตนเองแล้วสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้จักรยานคันโปรดอยู่สภาพสมบูรณ์

  1 ล้างเสร็จเช็ดให้แห้งสนิท
  2 ถอดแกนอานจักรยานออก คว่ำเฟรมจักรยานลงให้น้ำที่ค้างในเฟรมจักรยานไหลออกให้หมด
  3 ดูแลรักษาโซ่จักรยาน ใส่น้ำมันหล่อลื่นโซ่จักรยานตามสภาวะการใช้งาน
  4 ถ้วยคอจักรยาน ถ้าถอดเองได้ไม่ยุ่งยากในการประกอบใส่คืน ควรถอดออกมาทำความสะอาดด้วยและอัดจารบีใหม่ใส่เข้าไป
  5 สิ่งที่ควรดูแลรักษาเพิ่มอยู่บ่อยๆ เช่น สายเบรค สายเกียร์

ขอบล้อและยางของจักรยาน

ล้อของจักรยานนั้นจะประกอบด้วย ยางจักรยาน(ยางนอกและยางใน) , ขอบล้อจักรยานและซี่ลวด

คำศัพท์เกี่ยวกับยางนอกจักรยาน(tire)
  • Outer diameter ซึ่งจะเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก วัดจากหน้ายางนอกสุด - หน้ายางนอกสุดด้านตรงข้าม
  • Bead diameter ซึ่งเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางภายในภายใน เป็นบริเวณที่ยางนอกจะไปเกี่ยวหรือสัมผัสยึดติดกับขอบล้อ บางทีก็อาจจะเรียกว่า tire-bead diameter
  • Width หรือ ความกว้างหรือความอ้วนของยางนอก ซึ่งจะเป็นค่าที่วัดเมื่อmount ยางเข้ากับrim และสูบลมแล้ว

คำศัพท์เกี่ยวกับขอบล้อจักรยาน(rim)
  • Rim outer diameter ซึ่งถ้าจะพูดให้ถูกความหมายก็คือ เป็นแค่ approximate rim OD.เท่านั้น
  • bead-seat diameter จะเป็นส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางที่วัดจากขอบbead seat ของrim ซึ่งbead seat ก็คือส่วนที่จะสัมผัสกับbeadหรือขอบยางด้านในนั่นเอง ดังนั้นยางและขอบล้อที่สวมกันอย่างน้อยสุดนั้น ยางจะต้องมีค่าbead diameter = bead-seat diameter ของrim นั่นเอง
  • Flange คือ ส่วนของขอบล้อที่อยู่สูงขึ้นมาจาก bead seat นั่นเอง
  • Inside-rim width

รหัสตัวเลขต่างๆที่แสดงโชว์ของยางจักรยานคืออะไร
    ตัวเลขที่มันปรากฏให้เราเห็นมันหมายถึงอะไรกันแน่ เช่น ล้อ 26",700c , 650C , 27 " sizeหรือขนาดเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างความสับสนให้แก่หลายๆคนเลยทีเดียว
ขนาดของยางที่ใช้กันมาแต่เดิมนั้นจะแสดงด้วย
1. Nominal outer diameter ของยาง
2. Width ของยาง
เช่น

    ยาง MTB ขนาด 26" x 1.75" ก็จะหมายถึงยางที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก( แบบประมาณๆ หรือแต่ในนาม , nominal )เท่ากับ 26" เมื่อใส่เข้าไปกับขอบล้อแล้วสูบลม ยางจะอ้วน 1.75" ( ซึ่งขนาด 1.75" คือ มาตรฐานเดิม ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกใกล้เคียงกับ 26"

    ยาง 700C เป็นมาตรฐานของฝรั่งเศส ซึ่งทางแคนาดาก็ลอกแบบและขนาดไปใช้ แล้วกำหนดขนาดเป็น Canada 28" x 1 ½ "

    ยาง 27" เป็นมาตรฐานของอังกฤษ คือ 27 x 1 ¼ " แต่กลับมีขนาดใหญ่กว่า 700 C เล็กน้อย

    ยาง 650C หรือ USA/26" ซึ่งเป็นยางที่ใช้กับจักรยานไตรกีฬา

    ไปๆมาๆ ก็เลยบอกอะไรกันไม่ได้เลยกับความแน่นอนของขนาดยาง เพราะที่ว่าวัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกก็ยังไม่เห็นจะเป็นไปอย่างที่คิด เพราะว่ายาง 27 x 1 ¼ " ของอังกฤษ ก็ดันใหญ่กว่า Canada 28 x 1 ½ " หรือ 700C ไปเสียอีก

    แล้วมาตรฐานมันอยู่ที่ไหนหละ เจ้า ISO หรือ International Standard Organization ก็เข้ามามีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานของยางและขอบล้อ โดยกำหนดมาเป็นค่า xx-yyy แทน โดยสำหรับ

ยางนอก

xx คือ width ของยาง

yyy คือ Tire-bead diameter

เช่น 20-622 ก็คือยางนอกที่มีความกว้าง 20 mm และมีbead seat diameter 622 mm หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ยางขนาด 700 x20C นั่นเอง

ขอบล้อ


xx คือ ความกว้างของrim ที่วัดระหว่าง flange นั่นเอง

yyy คือ Seat-bead diameter

     แน่นอนว่ายางและขอบล้อที่จะมาใช้ด้วยกันได้นั้นจะต้องมีค่า tire-bead diameter และ seat-bead diameter เท่ากันเสมอ ยางจึงจะเกี่ยวกันได้ แต่ความกว้างของขอบล้อจะแคบกว่าความกว้างของยาง เช่น ยาง 20-622 จะใส่ได้กับขอบ 14-622 เป็นต้น

คราวนี้มีของแถมมาให้คือ tire-bead diameter ของยางแต่ละขนาดเป็นเช่นไร

ยาง 27" tire-bead diameter = 630 mm , Approximate rim OD = 640 - 644 mm

ยาง 700C tire-bead diameter = 622 mm , Approximate rim OD = 632 - 636 mm

ยาง 650C tire-bead diameter = 571 mm , Approximate rim OD = 583 - 587 mm

ยาง 26" MTB tire-bead diameter = 559 mm , Approximate rim OD = 571 - 575 mm

ก็ยังมีอีกหลายขนาด แต่เป็นขนาดที่พวกเราไม่ค่อยจะได้เห็นกันครับ

     คราวนี้ก็มาแง้มดูยางของเพื่อนๆกันบ้างนะครับ ว่าที่ขอบยางเขียนไว้ว่าอย่างไร ส่วนที่ขอบล้อนั้น เฮ้อ หาดูยาก แล้วยังเขียนตามใจผู้ผลิตอีก ช่างมันเถอะ
     ของผม Panaracer Fire XC pro 1.8" เขียนข้างแก้มยางว่า 45-559 เพื่อนๆเข้าใจแล้วหรือยังครับว่าหมายความว่าอย่างไรกันและจากของแถมที่ให้คงไม่แปลกใจกันแล้วใช่ไหมว่าทำไมV brakeของMTB มันถึงใช้กับขอบ700C ไม่ได้ ส่วนเบรคของ700C กับ 27"นั้น ทำไมถึงมีลุ้น

ขอบคุณข้อมูลจากคุณ อู๊ด-พีระ thaimtb.com

เรื่องของเฟรมจักรยาน

     เฟรมของจักรยานถือได้ว่าเป็นแกนกลางของจักรยาน หรือจะเรียกได้ว่าเป็นตัวถังของรถจักรยานก็ว่า เฟรมจักรยานจะเป็นชิ้นส่วนกลางที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆของจักรยานให้ขับเคลื่อนไปได้ ดังนั้นเฟรมจักรยานหรือตัวถังจักรยานจึงมีความสำคัญมาก และวัสดุที่นำมาทำเฟรมจักรยานก็มีหลากหลายวัสดุให้เลือกใช้งาน

วัสดุที่นำมาทำเฟรมจักรยาน

เฟรมจักรยานไททาเนียม (Titanium) 
     เป็นเฟรมขวัญใจของนักจักรยานทั้งหลายที่ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ นักจักรยานตัวจริงและมือสมัครเล่นน้อยคนนักที่ไม่รู้จักเฟรมจักรยานไททาเนียม
     ไททาเนียม (Titanium) เป็นธาตุในโลหะที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1797 โดย William Gregor เป็นโลหะที่มีแสงเป็นประกายขาวคล้ายเงิน มีความทนทานต่อการสุกร่อนเป็นเยี่ยม เมื่อทำให้ร้อนสามารถดัดโค้งงอได้รูปร่างตามต้องการ มีน้ำหนักเบา เมื่อทำให้เป็นวัตถุผสมมีความแข็งแรงทนต่อการบิดดึงได้ดีมาก แต่ขึ้นรูปหรือเชื่อมต่อให้สวยงามได้ยาก ต้องใช้ผู้ชำนาญและอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อชนิดพิเศษ ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการทำชิ้นส่วนของเครื่องบิน ยานอวกาศ เรือดำน้ำ ดาวเทียม รวมถึงรากฟันเทียม และบางส่วนของขีปนาวุธ นอกจากค้นพบได้ในโลกเราแล้ว ยังพบว่ามีอยู่ในดวงอาทิตย์และดวงดาวต่าง ๆ อีกด้วย
     ไททาเนียมเป็นวัตถุต้องห้ามที่ต้องมีใบอนุญาตในการซื้อขาย มีราคาแพง ไม่มีขายตามร้านค้าวัสดุทั่วไป เหมือนกับเหล็กหรืออลูมิเนียม
  
จักรยานเฟรมไททาเนียมนั้นมีอยู่สองเกรดด้วยกัน คือ
  • ท่อที่ผลิตในอเมริกา 
  • ท่อที่ผลิตในประเทศจีนและรัสเซีย 
     ข้อแตกต่างกันที่ต้นทุนการผลิตและคุณภาพ ราคาจึงแตกต่างกันมากโดยปกติไททาเนียมจะมีส่วนผสมของโลหะสองชนิตามอัตราส่วนดังนี้ คือ3AL/2.5V = (Aluminium = 3 % / Vanadium = 2.5 % ) ส่วนที่เหลือเป็น Titanium 4AL/6V = (Aluminium = 4 % / Vanadium = 4 % ) ส่วนที่เหลือเป็น Titaniuam

     ท่อไททาเนียมที่ทำจากรัสเซีย มีทั้งสองชนิดเหมือนกัน แต่เมื่อทดสอบคุณภาพแล้วพบว่าท่อของรัสเซียมีคุณภาพด้อยกว่าที่ทำในอเมริกาถึง 40 % ในด้านความทนทานต่อแรงบิดดึง ส่วนท่อไททาเนียมที่ผลิตในประเทศจีนนั้น ใช้สวนผสม 3AL/2.5V ถึงแม้จะมีส่วนผสมทางเคมีอยู่ในระดับเดียวกัน กับมาตรฐานทั่วไป แต่พบว่าของจีนยังมีส่วนผสมอื่น ๆ ปนอยู่ ทำให้ความแข็งแรงด้อยไปกว่าที่ผลิตในรัสเซียเสียอีก จึงลงความเห็นว่า ท่อไททาเนียมทั้งที่ผลิตในรัสเซียและผลิตในประเทศจีน ยังมีคุณภาพและน้ำหนักไม่ดีเท่ากับที่ผลิตในอเมริกา
     ผู้ผลิตเฟรมจักรยานหลายรายที่ใช้ท่อไททาเนียม ที่ทำในประเทศรัสเซียและจีน ต้องใช้กลยุทธ์ในการขายสินค้าของตนโดย "รับประกันคุณภาพตลอดอายุการใช้งาน"

     ในสหรัฐอเมริกา Sandvik คือผู้ผลิตท่อไททาเนียม ที่มีชื่อเสียงที่สุดรายหนึ่ง และเป็นที่นิยมสำหรับการนำมาทำเฟรมจักรยาน จึงมีการประมูลสิทธิ์ในการซื้อท่อ เพื่อไปใช้ในการทำจักรยานของตนแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม Sandvik ไม่ใช่ผู้ผลิตท่อไททาเนียมรายเดียวในอเมริกา เช่น เฟรมชั้นยอดของ Merlin กลับไปใช้ท่อไททาเนียมของ Haynes ที่ผลิตในเมือง Arcadia รัฐ Louisiana ซึ่งเป็นแหล่งผลิตท่อไททาเนียมระดับท๊อป ราคาแพง คุณภาพเยี่ยมอีกยีห้อหนึ่ง

เฟรมจักรยานเหล็ก (Steel)
     เฟรมจักรยานเหล็ก (Steel) เป็นวัสดุดั้งเดิมในการใช้ทำตัวถังจักรยาน ให้ความรู้สึกที่ดีในการขับขี่ ควบคุมง่าย ขี่สนุก ให้ตัวดี ไม่แข็งกระด้าง แข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี
     ข้อเสียเฟรมจักรยาน คือ มีน้ำหนักมาก ลำบากในการดูแลรักษา เป็นสนิมได้ง่าย จึงนิยมนำเฟรมจักรเหล็กมาชุบโครเมี่ยมเป็นทางเลือก
     เฟรมจักรยานเหล็กคุณภาพดี ที่ออกมาวางจำหน่าย เช่น Breezer และ Voodoo และมีนักแข่ง และผู้ที่นิยมจักรยานไม่น้อยทีเดียวที่นิยมชมชอบ ตัวถังหรือเฟรมจักรยานที่ผลิตจากเหล็ก
     ด้วยคุณสมบัติของเหล็กที่มีน้ำหนักมาก นักจักรยานจึงไม่นิยมใช้แข่งขันกันมากนักเพราะยังมีวัสดุประเภทอื่นที่มีคุณภาพใกล้เคียงหรือดีกว่าในการทำตังถังหรือเฟรมจักรยาน ประกอบกับข้อได้เปรีบยที่มีน้ำหนักน้อยกว่าตัวถังหรือเฟรมจักรยานที่ทำด้วยเหล็ก ด้วยเหตุผลนี้ เหล็กจึงไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตจักรยานในเชิงการกีฬา เหล็กจึงเป็นที่นิยมในการผลิตตัวถังจักรยานในเชิงพาณิชย์โดยทั่วไปเสียมากกว่า ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแกร่งของมัน เหล็กจึงยังสามารถครองตลาดจักรยาน ได้มาตั้งแแต่อตีดกาลจนถึงปัจจุบัน
  
เฟรมจักรยานโครโมลี่ (Chromoly)
     โครโมลี่ (Chromoly) เป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กกับโมลิบดีนั่ม (Molybdenum) มีน้ำหนักเบากว่าเหล็ก ท่อโครโมลี่ดี ๆ บางยีห้อมีน้ำหนักไม่ต่างจากไททาเนี่ยมเท่าไหร่นัก
     จุดเด่นของโครโมลี่ ให้เฟรมจักรยานน้ำหนักเบา ขี่สนุก
     ข้อเสียเฟรมจักรยานโครโมลี่ คือ ดูแลรักษาค่อนข้างยากพอสมควร เป็นสนิมง่ายเหมือนเหล็กทั่ว ๆ ไป
     เฟรมจักรยานโครโมลี่เป็นที่นิยมของบรรดานักจักรยานทั้งหลาย เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆเลยก็ว่าได้
     ท่อโครโมลี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Ritchey / Reynolds และ Columbus เฟรมโครโมลี่ ราคาไม่แพงนัก ที่นิยมใช้กัน เห็นจะเป็นรถของ KHS โดยใช้ท่อของ True Temper

เฟรมจักรยานอลูมิเนียม (Aluminium)
     อลูมิเนียม (Aluminium) เป็นเฟรมจักรยานยอดนิยมของนักจักรยาน ด้วยอลูมิเนียมมีน้ำหนักเบา ดูแลรักษาง่าย ไม่เป็นสนิมแต่อาจเกิดการผุกร่อนได้ จากอลูมิเนียมอ๊อกไซด์
     อลูมิเนียมมีให้เลือกหลายเกรด เช่น 6061 / 7005 / หรือ Elan3. / Elite สูตรผสมของท่อ Easton เฟรมจักรยานอลูมิเนียมขี่จะไม่ค่อยนิ่มนวลเหมือนเฟรมชนิดอื่น ค่อนข้างแข็งกระด้างเมื่อขับขี่ในทางวิบาก แต่กลับตรงกันข้ามขี่ได้ดีในทางเรียบและทางสูงชัน ราคาไม่แพง มีให้เลือกมากมายในท้องตลาด รูปร่างและสีสรรคสวยงามสดุดตาผู้พบเห็น
     ข้อควรพึงระวังในการดูแลรักษา สำหรับผู้ใช้เฟรมจักรยานที่ผลิตด้วยอลูมิเนียม เนื่องจากอลูมิเนียมสามารถเกิดการผุกร่อนได้ด้วยหลาย ๆ สาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดมักจะพบบ่อย ๆ คือไอน้ำจากน้ำเค็ม สำหรับผู้ที่อยู่ติดทะเล ควรหมั่นรักษาเช็ดทำความสะอาดด้วยทุกครั้งหลังจากการใช้งาน และที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ เหงื่อจากตัวเราในระหว่างการขับขี่ หยดเหงื่อที่ไปโดยเฟรมอลูมิเนียมนั้น หากเราละเลยก็อาจจะทำให้เฟรมของเราเกิดการผุกร่อนได้เช่นกัน

เฟรมจักรยานคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)
     คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ที่นำทำเฟรมจักรยานที่นิยมและชื่นชอบของนักจักรยานเป็นอย่างมากถือได้่ว่าประสบความสำเร็จเป็นมากในการนำคาร์บอนไฟเบอร์มาทำเฟรมจักรยานถือได้ว่าเป็นตัวเลือกของเฟรมจักรยานลำดับต้นๆ
     ข้อดีของคาร์บอนไฟเบอร์ สามารถทำให้แข็งกระด้างมากหรือน้อย ทำให้เบามากหรือนำไปเสริมในบางจุดที่ต้องรับแรงกระแทกมาก ๆ ได้ มีความทนต่อการกัดกร่อนสูง
     ข้อเสียของคาร์บอนไฟเบอร์ มีราคาแพง เชื่อมต่อยาก ดังนั้นตามข้อต่อที่รับแรงกระแทกสูง ๆ จะเกิดปัญหาได้ง่าย เขาจึงเลือกที่จะนำคาร์บอนไฟเบอร์ไปทำตัวถังประเภท โมโนค็อด (monocogne) หรือเฟรมจักรยานชิ้นเดียวแทน

จักรยาน BMX

จักรยานBMX จะแบ่งเป็นหลายๆประเภทย่อย คือ
  • ฺBMX Racing ลักษณะรถช่วงจะยาวกว่าประเภทอื่นและองศารถจะเหมาะสมกับการแข่งขันด้วยความเร็ว
  • BMX Flatland ลักษณะรถจะสั้นๆ เหมาะกับการเล่นท่า
  • BMX Street ช่วงรถจะยาวกว่าแบบ Flatland เล็กน้อย
  • BMX Park BMX Dirt BMX VERT ทั้งสามประเภทะจะใช้่จักรยานประเภท Street 

ขอบคุณรูปและข้อมูลจักรยานจากคุณ It_Nice@pantip.com

จักรยานคืออะไร และประเภทของจักรยาน

จักรยานคืออะไร และประเภทของจักรยาน

     ยานพาหนะชนิดหนึ่งที่ใช้พลังงานกลหรือใช้แรงกายคนในการขับเคลื่อน ประหยัดพลังงานแก๊สและน้ำมันในการใช้ยานพาหนะในการเดินทาง โดยชื่อของยานพาหนะชนิดนี้คือ จักรยาน

     จักรยานจะประกอบด้วยตัวถังจักรยาน(เฟลม), อาน(เบาะนั่ง), แฮน, ล้อจักรยาน, ชุดเบรคจักรยาน, ชุดจานปั่นและโซ่จักรยานประกอบกันรวมเป็นจักรยาน1คัน ขับเคลื่อนที่ออกแรงถีบกลไกให้ล้อหมุน

     ปัจจุบันจักรยานมีหลายชนิด มีตั้งแต่ 1 ล้อ(จักรยานล้อเดียว) ไปจนถึงจักรยานหลายล้อ ยังมีประเภทดัดแปลงแบบแปลกๆ เช่นมีล้อหน้าใหญ่ แต่ล้อหลังเล็ก จักรยานยังใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันกีฬาอีกประเภทหนึ่ง

จัดแบ่งประเภทของจักรยาน

   1 จักรยานประเภทใช้งานทั่วไป เป็นจักรยานโดยทั่วไปใช้งานในชีวิตประจำวัน หรือที่เรียกกันว่าจักรยานจ่ายตลาด, จักรยานแม่บ้าน, จักรยานเด็ก เป็นต้น โดยจักรยานจะประกอบสำเร็จรูปพร้อมใช้งานได้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆครบถ้วน มีราคาถูก ราคาจักรยานเริ่มต้นที่หนึ่งพันบาทหาซื้อได้ง่ายที่ร้านขายจักรยานทั่วไป

   2 จักรยานประเภทใช้แข่งการกีฬา เป็นจักรยานในลักษณะเสือหมอบ ตัวจักรยานมีการติดตั้งเกียร์จักรยานเสริมเข้าไปมีตั้งแต่ 5เกียร์ ถึง 14เกียร์ เฟลมตัวถังจักรยานแข็งแรงมีน้ำหนักเบา ออกแบบให้เพียวลม ยางรถจักรยานมีลักษณะผอมบางแต่ทนแรงกดดันได้สูง ราคาจักรยานที่ใช้แข่งเริ่มต้นที่หลักหมื่นปลาย

   3 จักรยานประเภทใช้ออกกำลัง สปอร์ต ท่องเที่ยว เป็นจักรยานที่ผสมผสานระหว่างจักรยานที่ใช้งานทั่วไปรวมเข้ากับจักรยานที่ใช้แข่งขัน ออกมาในรูปแบบจักรยานไฮบริด Hybrid ออกแบบลักษณะการใช้งานที่ลุยได้ทุกพื้นที่ ใช้งานในเมือง ใช้งานในป่า ขึ้นเขาก็ได้ ราคาจักรยานไฮบริดเริ่มต้นแบบถูกๆที่หลักพันปลายๆ

ปัจจุบันความนิยมของจักรยานได้ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
  1 จักรยานประเภทถนน
  2 จักรยานประเภทวิบาก